เมนู

ธรรมทั้งหลาย อันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ และวิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ท่านข่ม
ไว้ไม่ดี ชำระล้างไว้ไม่ดี เพราะฉะนั้นสมาบัติของท่านเหล่านั้นจึงพินาศไป
เสื่อมไป. อนึ่ง สมาบัตินั้น พินาศไป เสื่อมไป เพราะศีลขาด หรือเพราะ
การไม่ก้าวล่วงอาบัติเท่านั้นก็หาไม่. ก็นาคริกโปกขธรรมนี้ ย่อมพินาศไป
เพราะกรณียกิจ หรือเพราะเหตุสักว่าการแตกแห่งวัตร มีประมาณเล็กน้อย.
ในข้อนั้น มีเรื่องดังต่อไปนี้ เป็นอุทาหรณ์.
ได้ยินว่า พระเถระรูปหนึ่งใช้สมาบัติ คือ ใช้สถานที่แห่งหนึ่งเป็นที่
สมาบัติ เมื่อท่านไปสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต พวกเด็กเล่นอยู่ที่บริเวณแล้วก็พากัน
หลีกไป พระเถระมาแล้วคิดว่า "พวกเด็กคงกวาดบริเวณ" ท่านจึงไม่กวาด
เข้าไปสู่วิหารด้วยคิดว่า "เราจักเข้าสมาบัติ" ท่านไม่อาจเพื่อจะเข้าได้ จึงรำพึง
ถึงศีลว่า "อะไรหนอเป็นเครื่องกั้น" ไม่เห็นการก้าวล่วง แม้มีประมาณเล็กน้อย
จึงตรวจดูว่า "วัตตเภทการแตกแห่งวัตรของเรามีอยู่หรือ ทราบว่าไม่ได้กวาด
บริเวณ จึงกวาดแล้ว ก็เข้าไปนั่งเข้าสมาบัติ.

จบอรรถกถากุปปธรรมบุคคล
[20]

อถุปปธรรมบุคคล

บุคคลผู้มีธรรมอันไม่กำเริบ เป็น
ไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ได้สมาบัติอันสหรคตด้วยรูปฌานหรือ
สหรคตด้วยอรูปฌาน แต่บุคคลนั้น เป็นผู้ได้ตามต้องการ เป็นผู้ได้ไม่ยาก
เป็นผู้ได้โดยไม่ลำบาก สามารถจะเข้าหรือออกสมาบัติใด ในที่ใด กำหนด
เวลาเท่าใด ได้ตามปรารถนา ข้อนี้ไม่เป็นฐานะไม่เป็นโอกาสที่สมาบัติเหล่า
นั้นจะพึงกำเริบ เพราะอาศัยควานประมาทของบุคคลนั้น บุคคลนี้เรียกว่า ผู้

มีธรรมอันไม่กำเริบ พระอริยบุคคลแม้ทั้งหมด ชื่อว่า ผู้มีธรรมอันไม่
กำเริบในวิโมกข์ส่วนที่เป็นอริยะ.

อรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล


นิเทศแห่ง "อกุปปธรรมบุคคล" บัณฑิต พึงทราบด้วยความ
สามารถแห่งปฏิปักษ์นัย. ของกุปปธรรมบุคคล ที่กล่าวไว้แล้วนั่นแหละ. ก็คำว่า
"อกุปฺปธมฺโม" เป็นชื่อของพระอริยบุคคล 2 จำพวก คือ พระอนาคามี ผู้ได้
สมาบัติ 8 และ พระขีณาสพ. จริงอยู่ ธรรมทั้งหลายอันเป็นข้าศึกต่อสมาธิ และ
วิปัสสนาของท่านเหล่านั้น ท่านข่มไว้ดีแล้ว ชำระล้างไว้ดีแล้ว เพราะฉะนั้น
เมื่อท่านเหล่านั้น แม้ยังกาลให้ล่วงไปด้วยกิจ มีการสนทนา และความเป็นผู้
ยินดีด้วยหมู่คณะเป็นต้น หรือด้วยความประมาทอันไม่สมควรแก่คนอย่างใด
อย่างหนึ่งอื่น ๆ สมาบัติก็ไม่กำเริบ ไม่พินาศ แต่ว่า พระโสดาบัน พระ-
สกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพ ผู้สุกขวิปัสสกะ ย่อมไม่ได้ในทุกะนี้
ท่านเหล่านั้นจึงชื่อว่า ทุกมุตตกบุคคล.
เพราะฉะนั้น พระศาสดา จึงทรงรวบรวมบุคคลทั้งหลาย ที่พระองค์
ทรงถือเอาและไม่ทรงถือเอาในหนหลัง แล้วยกขึ้นสู่แบบแผนกับด้วยปิฏฐิ -
วัฏฏกบุคคลทั้งหลายไว้ในทุกะแม้นี้ เพราะพระองค์มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดี
จึงตรัสคำเป็นต้นว่า "สพฺเพปิ อริยปุคฺคลา" พระอิริยบุคคลแม้ทั้งหมด.
อนึ่ง หากความกำเริบ ความพินาศแห่งสมาบัติ 8 ของท่านจะพึงมี
ขึ้น แต่โลกุตตรธรรมที่ท่านแทงตลอดแล้วครั้งเดียวหากำเริบและพินาศไปไม่.
คำนี้ ท่านกล่าวหมายเอาผู้บรรลุโลกุตตรธรรม นั้น.
จบอรรถกถาอกุปปธรรมบุคคล